ประวัติ Nike แบรนด์ระดับโลกกับคำคมที่ใครๆ ก็ถูกใจอย่าง Just Do It ที่มีความหมายลึกซึ้งว่า ลงมือทำเลย อย่าไปกลัว คุณทำได้นั่นเอง ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักประวัติของแบรนด์ไนกี้กันก่อน ว่าก่อนจะมาเป็นแบรนด์ดังระดับโลกเนี่ย เขาผ่านอะไรมาบ้างก่อนจะเป็นคำว่าแบรนด์ “NIKE” หรือไนกี้
ประวัติ ผู้ก่อตั้ง

     ผู้ก่อตั้งแบรนด์ก็คือ Philip Hampson Knight (ฟิลลิป แฮมป์สัน ไนต์) ประเทศอเมริกา เขาเป็นลูกชายของ William W. Knight ซึ่งเป็นอดีตทนายความและผันตัวสู่การเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ เริ่มแรกฟิลลิปก็มีความสนใจอยากทำหนังสือพิมพ์กับพ่อ แต่พ่อไม่ยอมให้ทำเพื่อให้เขาค้นหาตัวเองว่าอยากทำอาชีพอะไรมากที่สุดและไม่อยากให้ใช้เส้นสายของครอบครัว ฟิลลิปจึงลองสมัครงานเป็นนักข่าวของสำนักพิมพ์ฝ่ายตรงกันข้ามกับพ่อของตัวเอง ด้วยการเป็นนักข่าวกีฬาภาคดึก พร้อมกับเรียนไปด้วย

การกลายมาเป็นแบรนด์ ไนกี้

 เมื่อจบปริญญาโทและสมัครเป็นทหารรับใช้ชาติเขาคิดอยู่เสมอว่าเขาชอบอะไรนอกจาก เรื่องของกีฬา จนมาหยุดที่รองเท้ากีฬา และได้เดินทางตามหาความฝันนี้ ครั้งแรกเขาได้ตกลงทำสัญญารับรองเท้าจาก Onitsuka Tiger มาทำแบรนด์ของตัวเอง


 เมื่อรองเท้าคู่แรกมาถึงเขาได้ส่งไปให้ Bill Bowerman (บิล โบเวอร์แมน) โค้ชฝึกสอนภาคสนามผู้มีชื่อเสียง แห่งมหาวิทยาลัยออเรกอน สหรัฐอเมริกา ในขณะที่ฟิลลิปตอนนั้นเป็นนักกีฬาวิ่ง เพื่อจะได้ให้บิล อุดหนุนรองเท้าของเขา และให้ใคร ๆ เห็นและรู้จักรองเท้าแบรนด์นี้ บิลไม่ซื้อสักคู่แต่กลับขอหุ้นลงทุนทำรองเท้าด้วย


 ทั้งคู่มีความเห็นตรงกันว่าเทคโนโลยีรองเท้าวิ่งควรได้รับการพัฒนา และฟิลลิปยังเห็นว่ารองเท้าจากประเทศญี่ปุ่นเป็นรองเท้าที่มีคุณภาพดี จึงได้นำไอเดียเสนอบิลที่มีความคิดคล้ายกันพอดี นั่นคือแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกเขาร่วมกันลงทุนคนละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,000 บาท) เพื่อเปิดบริษัทนำเข้ารองเท้ากีฬาซึ่งต่อมาจะกลายเป็น Nike ที่เรารู้จักกัน

 โลโก้และชื่อแบรนด์

 Jeff Johnson (เจฟ จอห์นสัน) พนักงานคนแรกของเขาได้เสนอไอเดียว่า ควรเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น Nike ซึ่งเป็นชื่อเทพเจ้าหนึ่งของกรีก โดยมีความหมายว่า “เทพธิดาแห่งชัยชนะ” Knight จึงเปลี่ยนชื่อจาก Blue Ribbon Sports เป็น Nike เมื่อปี 1971 และได้ว่าจ้างกราฟฟิคดีไซน์ให้ออกแบบโลโก้ในตำนาน “swoosh” หรือเครื่องหมายถูกที่คุ้นตาเรานั่นเอง ด้วยค่าจ้างเพียง 35 ดอลล่าร์ฯ เท่านั้น
 ไนกี้และไมเคิล จอร์แดน รุ่นยอดฮิตตลอดกาล

 จะว่าไปแล้ว ไนกี้ก็เกือบชวดกับการเซ็นต์สัญญากับ Michael Jordan เพราะจริง ๆ แล้ว เขานั้น เป็นแฟนคลับตัวยงของ Adidas แต่ด้วยข้อเสนอที่ยากจะปฏิเสธของ Nike ที่ยื่นข้อเสนอให้กับ Michael Jordan นั้น สูงถึง 2.5 ล้านเหรียญฯ

 ซึ่งเซ็นต์สัญญาเป็นเวลา 5 ปี เฉลี่ยปีละ 500,000 ดอลล่าร์ฯ ซึ่งพอ Adidas เห็นตัวเลขนี้แล้ว ก็ขอถอนตัวไป เพราะคิดว่า Michael Jordan นั้นไม่เก่งพอ และโชคดีที่เอเจนซี่ของ Michael Jordan นั้น กล่อมให้เขาไปคุยกับ Nike ได้สำเร็จ


 พอสามารถกล่อม Michael Jordan (ไมเคิล จอร์แดน) ให้ใส่ได้แล้ว Nike ก็ดันไปมีปัญหากับทางสมาคม NBA ที่กำหนดเอาไว้ในช่วงนั้นว่า รองเท้าบาสเกตบอลนั้นต้องมีโทนสีขาว แต่รองเท้า Air Jordan I นั้นแทบจะไม่มีสีขาวอยู่เลย ทำให้ทุกครั้งที่ Michael Jordan ใส่รองเท้ารุ่นนี้ลงสนาม จะต้องถูกโทษปรับเงินเป็นจำนวน 5,000 ดอลล่าร์ฯ (ราว ๆ แสนกว่าบาท) ทุกนัดที่เขาใส่ลงเล่นในสนาม


 แต่ Nike ไม่สน แถมได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว แถมยังได้ทำโฆษณาจิกกัดต่อสมาคม NBA ด้วยว่า “โชคดีที่ NBA ไม่สามารถห้ามคุณไม่ให้ใส่รองเท้าคู่นี้ได้” กลายเป็นว่ารองเท้า Air Jordan I นั้น ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าหยั่งกับแจกฟรี ทั้ง ๆ ที่เป็นหนึ่งในรุ่นที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดารองเท้าบาสเกตบอล ณ ขณะนั้นด้วยซ้ำไป
หลังจากที่ Michael Jordan อกหักจาก Adidas เพราะไม่สามารถทำให้ตัวเองถูกเลือกเป็นตัวแทนพรีเซ้นต์สินค้าหรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ได้ เขาก็หันมาซบอกกับ Nike ภายในปีแรกของการเป็นนักบาสเกตบอลอาชีพของ Michael Jordan ก็สามารถทำผลงานได้อย่างสุดยอด จนได้รับตำแหน่ง Rookie of The Year และ Nike สามารถทำเงินจากรองเท้ารุ่น Air Jordan หลังจากที่วางขายได้เพียง 2 เดือนได้กว่า 70 ล้านดอลล่าร์ฯ และเพียงสิ้นปี 1985 ก็มีรายได้ทะลุ 100 ล้านดอลล่าร์ฯ ได้อย่างสบาย ๆ



 จากนั้น Michael Jordan ก็สามารถทำผลงานดีอย่างต่อเนื่อง จนผู้คนต่างยอมรับในฝีมือและยกย่องให้เขานั้นเป็นไอคอนของวงการบาสเกตบอล และนั่นก็ส่งผลให้รองเท้ารุ่น Air Jordan นั้น ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าต่อเนื่องมาตลอดหลายสิบปีด้วยกัน แม้ว่าเขาจะเลิกเล่นบาสเกตบอลใน NBA ไปแล้วก็ตามที

 แคมเปญสุดปังจนกลายมาเป็นสโลแกน

 ตามมาด้วยการตลาดที่ถือได้ว่าเป็นแคมเปญที่ทรงพลังที่สุดของ Nike เลยก็ว่าได้ เมื่อทาง Nike ได้จัดตั้งแคมเปญที่ชื่อว่า Just Do It “หยุดกลัวและลงมือทำมันซะ” ควบคู่ไปกับโลโก้เครื่องหมายถูกอย่าง Swoosh ซึ่งแคมเปญนี้ส่งผลให้ยอดขายของ Nike เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด จากก่อนเริ่มแคมเปญอยู่ที่ 18% กระโดดขึ้นเป็น 43% หรือจากเดิมยอดขายอยู่ที่ 877 ล้านเหรียญฯ พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 9.2 พันล้านเหรียญฯ ในช่วงระหว่างปี 1988 ถึง 1998 หรือรายได้เติบโตกว่า 1,000% ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี

 ซึ่ง Just Do It ได้กลายมาเป็นสโลแกนของ Nike จวบจนถึงปัจจุบัน และถูกยกย่องว่าเป็นสโลแกนแห่งทศวรรษที่ 20 อีกด้วย

ปัจจุบัน Logo ของไนกี้ รวมถึงสัญลักษณ์ติ๊กถูก และสโลแกนของแบรนด์ ถูกนำเอามาประกอบเป็นลวดลายสกรีนลงบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รองเท้า เสื้อ แจ็คเก็ต กางเกง กระเป๋า หมวก บอกเลยว่าครบเซ็ตมาก เพียงเขาแค่ทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำ ความเป็นที่จดจำก็กลายเป็นกิมมิ ซิกเนอเจอร์พิเศษเฉพาะตัว ที่ใครๆ ก็อยากสวมใส่แล้ว

 แล้วคุณล่ะ สร้างความเป็นแบรนด์ ความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้รึยัง ถ้าคิดมาคร่าวๆ พอเป็นรูปเป็นร่างแต่ยังไม่สำเร็จ บอกเลยว่ามาที่เราสิ ธน พลัส 153 เรามีบริการ One Stop Service ที่สามารถช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผ้า เรื่องเทคนิคสกรีน การสร้างแบรนด์ โลโก้ คอนเซปต์ กราฟิก รวมไปถึงการแพ็คสินค้า ไว้ใจเราได้เลย